กล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการออกกําลังกาย เป็นเรื่องปกติที่ผู้ที่ชื่นชอบในการออกกำลังกายต้องพบเจอ ซึ่งแม้จะเป็นอาการที่ธรรมดา แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า หากพบเจอกับภาวะกล้ามเนื้อบาดเจ็บแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยละเลยให้หายเอง เนื่องจากกล้ามเนื้อแต่ละจุดมีความเฉพาะเจาะจงของมัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากได้รับการรักษาแบบผิด ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดผลเสียต่อกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ ไปอีก ดังนั้น ก่อนที่จะไปรู้จักกับวิธีการรักษา เรามาทำความรู้จักกับภาวะกล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการออกกำลังกายกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง
สำหรับท่านใดที่มีอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรดี? Pain Clinic Near Me จะพาคุณไปหาคำตอบเอง อ่านได้เลยที่บทความนี้!
ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ จากการออกกำลังกาย ภัยเงียบกว่าที่คิด สาเหตุเพราะอะไร นี่คือหนึ่งในภัยเงียบที่อาจจะทำให้เราเจ็บป่วยและปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังอย่างคาดไม่ถึง คนไข้ในหลาย ๆ กรณีที่มาพร้อมด้วยอาการปวดบริเวณ กล้ามหน้าท้อง เจ็บชายโครง และปวดหลัง ซึ่งตามที่ผู้ป่วยแจ้งมาก็คืออาการเจ็บปวดนี้จะเป็นอยู่ตลอดเวลาด้วย ไม่ว่าจะขยับตัว เอี้ยวตัว นอนตะแคง ดันตัวขึ้นจากท่านอน ลุกจากท่านั่งหรือแม้กระทั่งหายใจ ก็เจ็บตามชายโครง บางเคสเสียวแปล๊บไปตามขอบด้านในของสะบัก ซ่า ๆ ชา ๆ ตรงบริเวณสะบักและหลัง ทั้งนี้เมื่อจับหรือกดบริเวณที่มีอาการก็จะเจ็บ ปวดร้าวตามกล้ามเนื้อต้นแขน ศอก และมือ ฯลฯ อาการทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นหลังจากเล่นทันทีหรอกนะคะ แต่จะเป็นหลังจากที่เล่นไปแล้ว 1-2 วัน แต่สิ่งที่น่ากลัวมากก็คือการที่คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิด ๆ กันอยู่ว่า ยิ่งเล่นจนเจ็บยิ่งดี ต้องไปเล่นซ้ำให้กล้ามเนื้อได้แข็งแรงแล้วอาการปวดกล้ามเนื้อจะหายไปเอง
กล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการออกกำลังกายได้มาก กล้ามเนื้อที่พบการบาดเจ็บได้บ่อยก็เช่น กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อเอ็นหลังหัวเข่า กล้ามเนื้อโคนขาหนีบ และกล้ามเนื้อน่อง เป็นต้น
การบาดเจ็บส่วนมากเกิดขึ้นเอง มักไม่ได้มีการกระแทกกระเทือนกับอะไรที่ชัดเจน การบาดเจ็บแบบนี้เกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและเฉียบพลันในขณะที่ข้อต่อและรยางค์มีการขยับไปในทิศทางตรงข้าม (excessive eccentric contraction) มีส่วนน้อยที่การบาดเจ็บฉีกขาดของกล้ามเนื้อเกิดจากการกระแทกโดยตรง
หลังการบาดเจ็บ อาจจะมีอาการเจ็บขึ้นมาทันที ที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด ในบางรายอาจจะพบรอยช้ำหรือจ้ำเลือดที่ผิวหนังได้ ในบางรายอาจจะพบเพียงแค่อาการเจ็บตึง แต่ยังสามารถเล่นกีฬาต่อไปได้ นอกจากนี้ อาการที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อบาดเจ็บ อาจจะพบได้ทันทีหลังการบาดเจ็บ หรืออาจจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากนั้นหลายชั่วโมงก็ได้ ซึ่งจะมีอาการปวดล้า ระบม เมื่อยตึง เป็นอย่างมาก
การรักษาอาการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา ในช่วง 1 – 3 วันแรก จะใช้หลักการที่เรียกว่า RICE
โดยวิธีเหล่านี้คือวิธีปฏิบัติเบื้องต้น สามารถทำได้ทันทีเมื่อมีการบาดเจ็บ ซึ่งอยู่ในระยะอักเสบใหม่ ๆ แต่การจัดการการบาดเจ็บไม่ได้มีแค่ระยะนี้เท่านั้น เรายังต้องให้ความสำคัญกับระยะซ่อมแซม และฟื้นฟู เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ได้ดังเดิม หรือเพิ่มความแข็งแรงก็ได้เช่นกัน
ก่อนกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง หัวใจสำคัญคือ ต้องปรับโครงสร้างของร่างกายให้มีความฟิตเพื่อพร้อมที่จะกลับไปเล่นกีฬาได้ในช่วงแรกหลังจากบาดเจ็บ ควรเน้นการ
นอกจากนี้เมื่อนักกีฬาเกิดการบาดเจ็บแล้วหยุดออกกำลังกาย ความสามารถ ความทนทานของหัวใจ / ปอด (Cardiovascular Fitness) จะลดลง ซึ่งในระหว่างพักฟื้นควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก
เพื่อคงสภาพความทนทานระบบไหลเวียน / ปอด จะช่วยให้ไม่เหนื่อยง่ายเมื่อกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง โดยออกกำลังกายในส่วนที่ไม่บาดเจ็บ หากบาดเจ็บที่ขา ควรออกกำลังแขนแทน เช่น ปั่นจักรยานมือเพื่อคงสภาพความทนทาน
เมื่ออาการบาดเจ็บดีขึ้นแล้วสามารถออกกำลังกายแบบประคองส่วนที่บาดเจ็บได้ โดยลดการรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก โดยใช้อุปกรณ์ที่ช่วยรองรับแรงกระแทก เช่น ออกกำลังกายในน้ำ การออกกำลังกายด้วยเครื่องวิ่งลดแรงโน้มถ่วง (Alter – G) ซึ่งจะมีถุงลมช่วยรับแรงกระแทกให้น้อยลง เหมาะกับคนที่ยังไม่พร้อมรับน้ำหนักเต็ม ๆ เมื่อพร้อมแล้วค่อยกลับมาวิ่งหรือออกกำลังกายปกติ โดยการฝึกออกกำลังกายหรือวิ่งที่เพิ่มระดับอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีระบบ (Progressive Exercise Program /Progressive Running Program) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถกลับไปออกกำลังกายหรือวิ่งได้เต็มรูปแบบเหมือนเดิม
การป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรทำควบคู่กับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น โดยการหาสาเหตุของการบาดเจ็บ ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
การรักษาฟื้นฟูร่างกายหลังบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามีด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการปวด การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ว่าเกิดจากสาเหตุใด มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หรือไม่ เพื่อให้แพทย์ได้รักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล
หากคุณกำลังเผชิญกับอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ painclinicnear.me ได้เลย เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก
ที่ Pain Clinic Near Me เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย
Pain Clinic Near Me เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้
Pain Clinic Near Me มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย
สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย
© All Rights Reserved.