“ปวดสะโพกร้าวลงขา” เป็นอาการปวดที่มักพบในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ หรือพนักงานขับรถยนต์ที่ต้องนั่งท่าทางเดิม ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงคนที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ และคนเป็นโรคอ้วน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ควรไปพบนักกายภาพบำบัดตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นอันตรายได้
สำหรับท่านใดที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรดี? Pain Clinic Near Me จะพาคุณไปหาคำตอบเอง อ่านได้เลยที่บทความนี้!
ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) คือ อาการปวดที่เริ่มต้นจากบริเวณช่วงเอว หรือสะโพก และปวดร้าวลงไปถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางรายอาจปวดร้าวไปจนถึงน่อง หรือเท้า โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการที่ขาข้างเดียว แต่ก็สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันที่ขาทั้งสองข้างก็ได้
เมื่อเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาขึ้นแล้ว คุณควรหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ทันที และนั่งพักสักระยะหนึ่งจนกว่าอาการจะดีขึ้น แล้วค่อยกลับไปทำกิจกรรมที่ต้องทำต่อ หลังจากนั้นให้หาวันและเวลาไปพบนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาการปวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้
ปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่เชื่อมจากกระดูกสันหลังส่วนเอวไปยังกล้ามเนื้อขา ได้รับการกดทับจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มอาการปวดที่เกิดบริเวณหลัง และกลุ่มอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากบริเวณหลัง มีรายละเอียดดังนี้
สาเหตุจากกลุ่มอาการปวดที่เกิดบริเวณหลัง
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus) : เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา เกิดจากกระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากเกินไป และมีการเคลื่อนไหวเยอะกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่น ๆ จนทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนกดเบียดเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดตามมา
โรคช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis) : หรือที่เรียกว่า “กระดูกทับเส้นประสาท” เป็นอาการที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก และข้อต่อตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการทรุดตัว หรือมีกระดูกที่งอกโตขึ้นจะไปกดเบียดทับเส้นประสาท
สาเหตุจากอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากบริเวณหลัง
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) : เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกที่มีชื่อว่า “Piriformis Muscle” เกิดความผิดปกติ หรือเกิดพังผืดจนไปกดทับเส้นประสาท โดยจะมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการนั่งนาน ๆ ในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การวิ่ง หรือการเดินทางไกล
กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ (Hamstring Muscle) : เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณส่วนต่อระหว่างสะโพกไปจนถึงหัวเข่า โดยจะมีอาการปวดร้าวอยู่บริเวณช่วงต้นขาด้านบน แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะทำให้อาการปวดร้าวลุกลามไปยังด้านหลังขา น่อง มีอาการตึงที่ข้อพับเข้าด้านหลัง และทำให้เหยียดเข่าได้ไม่ตรง
ปวดสะโพกร้าวลงขาเป็นอาการที่ไม่อันตราย โดยส่วนใหญ่แล้ว หากผู้ที่มีอาการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถหายดีกลับมาเป็นปกติได้
อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ไปพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษา อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นจนเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น ขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ เป็นอัมพาตจนไม่สามารถลุกเดินได้อีก หรือไม่สามารถควบคุมการทำงานของลำไส้และกระเพาะปัสสาวะได้
เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นอาการอันตรายที่อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างทันท่วงที
การรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา สามารถทำได้ 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด ซึ่งแต่ละวิธีจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนี้
แพทย์จะให้ยาในกลุ่มต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากหลากหลายสาเหตุ โดยจะปรับให้สอดคล้องกับโรคประจำตัวของคนไข้ เพื่อทำให้การใช้ยาเป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด เช่น
ยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เพื่อลดการอักเสบ
ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxant) เพื่อทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ยากลุ่มกันชัก (Anticonvulsant) และยาต้านเศร้า (Antidepressant) เพื่อรักษาอาการปวดจากการที่มีกระแสประสาทผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาเป็นเพียงการบรรเทาอาการเบื้องต้นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถรับน้ำหนักได้ดี และป้องกันการเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้อย่างถาวร
หากคุณมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา กายภาพบำบัดนับเป็นวิธีรักษาปวดที่ดีที่สุดที่คุณไม่ควรละเลย เพราะสามารถรักษาที่ต้นเหตุได้ ช่วยให้อาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และหายกลับมาเป็นปกติได้ โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การประคบร้อน ประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การใช้คลื่นกระแทก หรือช็อคเวฟ (Shock Wave) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บใหม่ และทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่อีกครั้ง ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และลดอาการปวดเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS) เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ ลดอาการเอ็นอักเสบ และอาการชาที่ปลายเส้นประสาท
การออกกำลังกายโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อยืดเหยียดและเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้
หากอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือโรคกระดูกสันหลังเสื่อมในผู้สูงอายุ แล้วการรักษาด้วยยาและทำกายภาพบำบัดไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ และการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
หากคุณเริ่มมีอาการปวดสะโพก ปวดแก้มก้น แล้วยังไม่สะดวกที่จะไปทำกายภาพบำบัด เรามีวิธีแก้ปวดสะโพกร้าวลงขามาแนะนำ โดยในเบื้องต้นให้เอาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นแล้วนำประคบบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ 15 – 20 นาที เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว หลังจากนั้นให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยท่าทางดังนี้
ท่าที่ 1 : นั่งบนเก้าอี้ พาดขาข้างที่มีอาการปวดไว้บนขาอีกข้างเป็นเลขสี่ แล้วค่อย ๆ ดึงลำตัวลงมาจนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ ยืดค้างไว้ 15 – 20 วินาที ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ
ท่าที่ 2 : นอนราบลงบนเสื่อ ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น แล้วไขว้ขาข้างที่ปวดเป็นเลขสี่ แล้วใช้มือ 2 ข้างจับใต้เข่าข้างที่ไม่ปวด แล้วค่อย ๆ ดึงขาเข้ามาให้ชิดอกจนรู้สึกตึงที่บริเวณก้นและสะโพก (ไม่ยกศีรษะหรือหัวไหล่ขึ้น) ยืดค้างไว้ 15 – 20 วินาที ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ
หากคุณกำลังเผชิญกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ Pain Clinic Near Me ได้เลย
เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก
ที่ Pain Clinic Near Me เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย
Pain Clinic Near Me เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้
Pain Clinic Near Me มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย
สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย
© All Rights Reserved.