โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis)

คุณเคยมีอาการปวดส้นเท้ามากในตอนที่เดินครั้งแรกหลังจากที่ตื่นนอนไหม? แล้วอาการปวดส้นเท้านั้นค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากที่เดิน หรือออกกำลังกายไปสักพัก นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “โรครองช้ำ” ก็ได้ 

สำหรับท่านใดที่มีอาการรองช้ำ แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรดี? Pain Clinic Near Me จะพาคุณไปหาคำตอบเอง อ่านได้เลยที่บทความนี้!

สารบัญ

โรครองช้ำ คืออะไร?

“โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ” หรือที่นิยมเรียกกันว่า “โรครองช้ำ” คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า จนทำให้มีอาการเจ็บส้นเท้าด้านใน หรือตามแนวแถบพังผืดตามมา โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดส้นเท้ามากในตอนที่วางส้นเท้าลงกับพื้นเป็นครั้งแรก หลังจากที่ตื่นนอน หรือพักผ่อนเป็นระยะเวลานาน ๆ และอาการปวดจะค่อย ๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2 – 3 ก้าว ซึ่งอาการจะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้งหลังจากที่พักผ่อนนาน ๆ วนซ้ำไปเรื่อย ๆ 

โรครองช้ำนั้น เมื่อเป็นแล้ว จะต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้อาการอักเสบบริเวณเอ็นส้นเท้ารุนแรงมากขึ้นจนลุกลามไปถึงเอ็นร้อยหวาย ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง หรือเกิดหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าได้

โรครองช้ำสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?

โรครองช้ำเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุก ๆ ช่วงอายุ แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมีสาเหตุมาจากการที่พังผืดใต้ฝ้าเท้า ซึ่งทำหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกต่อฝ่าเท้า และรองรับอุ้งเท้า ในขณะที่เรายืน หรือเดิน มีอาการตึงมากเกินกว่าที่พังผืดจะรับไหว จนทำให้เกิดความเสียหาย  อักเสบ หรือฉีกขาด และทำให้กลายเป็นโรครองช้ำในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรครองช้ำ

โรครองช้ำเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่ความเสียหายจะค่อย ๆ สะสมทีละเล็กทีละน้อยจนทำให้พังผืดที่บริเวณส้นเท้าเกิดการอักเสบ และกลายเป็นโรคนี้ในที่สุด

โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้พังผืดใต้เท้ามีอาการตึงและได้รับบาดเจ็บ มีดังนี้

  • เส้นเอ็นร้อยหวาย หรือพังผืดฝ่าเท้าตึงเกินไป ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งเกิดได้จากการไม่ค่อยได้ยืดคลายเส้นเอ็นหลังจากที่ใช้งานส้นเท้าหนัก ทั้งจากการยืนนาน ๆ และเดินนาน ๆ
  • เส้นเอ็นเสื่อมจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ 
  • ประกอบอาชีพที่จะต้องยืน หรือเดินทั้งวัน
  • สวมใส่รองเท้าพื้นแข็ง หรือรองเท้าส้นสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ในทุก ๆ วัน
  • มีภาวะกระดูกงอกบริเวณกระดูกส้นเท้า
  • ไขมันบริเวณส้นเท้าฝ่อลีบจากการที่อายุเพิ่มมากขึ้น
  • มีโครงสร้างเท้าแบน หรืออุ้งเท้าสูง จนทำให้การลงน้ำหนักเท้า หรือการเดินผิดปกติ

เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรครองช้ำ

หากคุณมีอาการเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรครองช้ำ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากจะมีโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกับโรครองช้ำอยู่ เช่น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจวินิจฉันก่อนว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ เพื่อที่จะได้วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมที่สุด โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรครองช้ำนั้น มี 3 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

  • ซักประวัติสุขภาพ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อดูว่าเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรครองเช้าไหม
  • เอกซเรย์บริเวณส้นเท้า เพื่อดูว่ามีการสร้างแคลเซียมบริเวณที่พังผืดอักเสบ หรือมีจงอยกระดูกบริเวณส้นเท้าของจุดเกาะเส้นเอ็นหรือไม่
  • อัลตราซาวด์ส้นเท้า เพื่อดูว่าเส้นเอ็นมีความหนาหรือบวมอักเสบหรือไม่

โรครองช้ำ รักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง?

แนวทางการรักษาโรครองช้ำ สามารถทำได้ 3 วิธีหลัก ๆ ซึ่งสามารถทำร่วมกันได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา มีรายละเอียดดังนี้

1. รับประทานยา ร่วมกับทำกายภาพบำบัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

เป็นวิธีรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรองช้ำในระยะแรก โดยแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น ลดการเดินให้น้อยลง เลือกสวมใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่ม

พร้อมกับแนะนำให้ทำท่าบริหารเอ็นร้อยหวายและพังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นประจำ เพื่อช่วยให้เอ็นยืดหยุ่นมากขึ้น และเข้ารับการทำกายภาพบำบัดด้วยการนวดฝ่าเท้า เพื่อทำให้พังผืดนิ่มลง ซึ่งจะช่วยให้อาการอักเสบที่บริเวณส้นเท้าดีขึ้นได้

ตัวอย่างท่าบริหารรักษาโรครองช้ำ

  • ท่าที่ 1 : นั่งเหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า แล้วใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ทำค้างไว้ 15 – 20 วินาที และทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
  • ท่าที่ 2 : ยืนหันหน้าเข้ากำแพง ใช้มือยันกำแพงไว้ แล้วถอยเท้าที่ต้องการยืดไว้ข้างหลังประมาณ 2 ก้าว และย่อเข้าด้านหน้าลงโดยที่เข่าไม่เลยปลายเท้า และขาด้านหลังจะต้องเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา ยืดจนรู้สึกว่าน่องตึง ทำค้างไว้ 15 – 20 วินาที และทำซ้ำ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 3 : นั่งบนเก้าอี้ และวางฝ่าเท้าลงบนขวดน้ำ หรือลูกเทนนิส แล้วคลึงไปมาใต้ฝ่าเท้าจนรู้สึกว่าพังผืดใต้ฝ่าเท้าคลายตัว

2. รักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave เป็นการยิงคลื่นกระแทกเข้าไปที่จุดเกาะเอ็นพังผืดที่บาดเจ็บบริเวณส้นเท้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บใหม่ และเกิดกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดส้นเท้าอย่างมาก และทำให้การฟื้นตัวของโรครองช้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. รักษาด้วยการผ่าตัด

ในกรณีที่การรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด และทำ Shock Wave ไม่ได้ผล (พบได้น้อยมาก) แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดพังผืดฝ่าเท้าบางส่วนออก เพื่อลดความตึงลง และทำให้เอ็นหย่อนคลายมากขึ้น

รักษาโรครองช้ำถาวรด้วยเครื่อง Shock Wave ที่ Pain Clinic Near Me ดีอย่างไร?

หากคุณกำลังเผชิญกับอาการของโรครองช้ำ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ painclinicnear.me ได้เลย เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Shock Wave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

FAQ

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก

ที่ Pain Clinic Near Me เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย

Pain Clinic Near Me เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้

Pain Clinic Near Me มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย

สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย