ปวดหลังร้าวลงขา ปวดหลัง แต่ทำไมถึงร้าวลงขา

สารบัญ

เรื่องงงๆ ของอาการปวดหลังแต่ร้าวลงขา… ซึ่งหลายคนคงมีอาการปวดหลัง แต่บางครั้งก็มีอาการร้าวลงขาร่วมด้วย อาการปวดหลังที่ลามลงขามักเกิดจากอาการที่เรียกว่า “Sciatica” มักเกิดจากการกดทับ หรือการระคายเคืองของเส้นประสาทไขสันหลัง เพราะ Sciatica Nerve เป็นเส้นประสาทที่ยาวที่สุดใน โดยากหลังส่วนล่าง ผ่านก้น และลงไปที่ขาแต่ละข้าง นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมปวดหลังทีไร ถึงร้าวลงขา

โดยทั่วไปแล้วอาการปวดหลังร้าวลงขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่ยกของหนัก คนที่นั่งทำงานนานๆ มนุษย์ออฟฟิศ อาการขป่วยในแต่ละเคสอาจมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริเวณของกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ โดยรวมแล้วผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขา นั้น จะไม่สามารถยืนนาน เดินนาน นั่งนาน เป็นต้น ดังนั้นบทความนี้จะพามาหาสาเหตุขออาการปวดหลังร้าวลงขา และวิธีการรักษาว่าควรจะรักษาอย่างไรดี

ทำความรู้จักกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังกันก่อน

การรู้จักกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังนั้น ทำให้เรารู้ถึงความเชื่อมต่อของโครงสร้างกระดูก และรู้ที่มาที่ไปของปวดหลังร้างลงขาเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้วกระดูกสันหลัง จะประกอบด้วย 33 ชิ้น โดยจะคั่นด้วย Spongy disks ซึ่งกระดูกสันหลังจะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้

  • กระดูกสันหลังส่วนคอ (​​Cervical spine) : เป็นส่วนบนสุดของกระดูกสันหลังในกระดูกสันหลังของมนุษย์ ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 7 ชิ้น ที่เรียกว่า C1 ถึง C7
  • กระดูกสันหลังที่ทรวงอก (Thoracic spine) : เป็นส่วนตรงกลางของกระดูกสันหลัง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังส่วนคอ และกระดูกสันหลังส่วนเอว (หลังส่วนล่าง) ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนอก 12 ชิ้น ที่เรียกว่า T1 ถึง T12
  • กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine): หรือที่มักเรียกกันว่าหลังส่วนล่างคือส่วนล่างสุดของกระดูกสันหลังในมนุษย์ ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนเอว 5 ชิ้น ที่เรียกว่า L1 ถึง L5 และตั้งอยู่ใต้กระดูกสันหลังส่วนอกและเหนือกระดูกศักดิ์สิทธิ์ กระดูกสันหลังส่วนเอวมีบทบาทสำคัญในการรองรับ ความมั่นคง และความยืดหยุ่นของหลังส่วนล่างและกระดูกสันหลังทั้งหมด ลักษณะสำคัญและหน้าที่ของกระดูกสันหลังส่วนเอวมีดังนี้
  • ส่วนกระเบนเหน็บ (Sacral spine): เป็นกระดูกรูปสามเหลี่ยมซึ่งอยู่ที่ฐานของกระดูกสันหลัง ใต้กระดูกสันหลังส่วนเอว มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน และส่วนอื่นๆ ของร่างกายส่วนล่าง ประกอบด้วยกัน 5 ชิ้น ที่เรียกว่า S1 ถึง S5

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้

การปวดหลังที่ร้าวลงขา ส่วนใหญ่เกิดจากการตึง อักเสบที่ sciatic nerve โดยมีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้ดังต่อไปนี้

1.การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ต้อง และต่อเนื่อง กันเป็นเวลานาน ทำให้เพิ่มความเครียดบนหลังส่วนล่างได้

2.การยกของหนักเกินไป หรือยกของผิดจังหวะก็ทำให้ปวดหลังร้าวลงขาได้เช่นกัน

3.การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา การบาดเจ็บต่างๆทำให้กล้ามเนื้อหลังเกิดอาการอักเสบได้

4.อุบัติเหตุ เช่น การล้มกระแทกพื้น การเกิดรอยบาดเจ็บจากการขับรถ, หรือการตกบันไดอาจสร้างการบาดเจ็บในหลังส่วนล่างได้

อาการของปวดหลังลงขามักจะประกอบด้วย

  • อาการปวด และเจ็บบริเวณเส้นเอ็นที่ได้รับผลกระทบ
  • บวม และร้อน อุ่นๆบริเวณที่เกิดการอักเสบ
  • อาการปวดจะแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นที่ได้รับผลกระทบ
  • มีอาการตึง และเคลื่อนไหวได้จำกัดในข้อต่อที่อยู่ติดกัน

แพทย์ทำการวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขาได้อย่างไร

การวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขามักจะเริ่มด้วยการประเมินอาการ สอบถามเกี่ยวกับประวัติการเจ็บปวดเพิ่มเติม และจากนั้นจะมีการวินิฉัยเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

1.เอ็กซเรย์ เพื่อสามารถระบุสาเหตุการเกิดโรคได้ถูกต้อง

2.CT scan เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพในแนวระนาบต่างๆ ของร่างกาย โดย CT scan จะแสดงภาพโดยละเอียดของส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมถึงกระดูก และจะมีรายละเอียดมากกว่า X-rays ทั่วไป

3.MRI เป็นการทดสอบที่ใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ และคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพรายละเอียดของอวัยวะ และโครงสร้างในร่างกาย

4.Electromyography (EMG) เพื่อทดสอบเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ และตรวจสอบ

แนวทางการรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขา

อาการปวดหลังร้าวลงขาจะดีขึ้นด้วยการพักผ่อน และยาแก้ปวด ห แต่ถ้ามีอาการหนัก และปวดหลังเรื้อรัง ก็จะรักษาตามอาการดังนี้

1. กายภาพบําบัด

แพทย์จะแนะนำให้นักกายภาพบำบัด ออกแบบท่าบริหารที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

2. การฉีด

แพทย์จะฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่เกิดอาการปวด เช่น การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ

3. การผ่าตัด

การบาดเจ็บที่มีอาการหนัก อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย เพื่อช่วยอาการปวดหลังส่วนล่างให้ดียิ่งขึ้น

4. รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS

หรือ Peripheral Magnetic Stimulation เป็นการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ส่งผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่บาดเจ็บ ซึ่งอยู่ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร และเป็นบริเวณที่การนวดตัวไม่สามารถช่วยได้ เพื่อกระตุ้นให้มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดลงอย่างรวดเร็ว

5. เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Technique)

การรักษาแบบหัตถการโดยการใช้มือ ดึง ดัด จัดกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ดี?

อาการปวดหลังส่วนใหญ่ค่อยๆ ดีขึ้นด้วยการรักษาที่บ้าน และการดูแลด้วยตนเอง ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • มีอาการนานกว่าสองสามสัปดาห์
  • รุนแรง และไม่ดีขึ้นด้วยการพักผ่อน
  • อ่อนแรง ชา หรือรู้สึกเสียวซ่าที่ขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • ปวดอย่างรุนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรง
  • มีไข้ น้ําหนักลดโดยไม่สามารถอธิบายได้

อาการปวดหลังร้าวลงขา มาพร้อมกับความเจ็บปวด การเคลื่อนไหวที่จํากัด และส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่สามารถหลีกเลี่ยงอาการปวดร้าวลงขาได้โดยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางการรักษาให้ดีขึ้น

ถ้ารักษาไม่หายควรทำอย่างไรดี?

สามารถมาที่ Pain Clinic Near Me คลินิกกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ให้บริการด้านการให้คำปรึกษา ตรวจ และรักษาทางกายภาพบำบัดครบวงจร ดูแลโดยทีมแพทย์ และนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ พร้อมเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัย เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave) และเครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS ไม่ว่าคุณจะมีอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปวดข้อต่อ มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ แขนขาอ่อนแรง ข้อเข่าเสื่อม หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย ก็สามารถให้เราดูแลได้! เราพร้อมทำการรักษาที่ต้นเหตุด้วยเทคโนโลยีกายภาพบำบัดสมัยใหม่ พร้อมแนะนำท่าบริหารเฉพาะปัญหาของแต่ละบุคคล รับรองว่าอาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

หากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับอาการปวดบั้นเอวอยู่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ Painclinicnear.me ได้เลย

Painclinicnear.me เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง ShockWave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก : Health line

Share the Post:

บทความที่เกี่ยวข้อง