ปวดหลังส่วนล่าง (Lower back pain)

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) หมายถึง อาการปวดหลัง กล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ในตําแหน่งตั้งแต่หลังชายโครงไปถึงส่วนล่างของแก้มก้น โดยบางกรณีจะมีอาการร่วมกับอาการปวดร้าวลงไปที่ขา ซึ่งปัญหาสําคัญของอาการปวดหลังส่วนล่าง คือ อาการปวดและการไม่สามารถดําเนินชีวิตได้เหมือนปกติ

สำหรับท่านใดที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรดี? painclinicnear.me จะพาคุณไปหาคำตอบเอง อ่านได้เลยที่บทความนี้!

สารบัญ

อาการปวดหลังส่วนล่าง คืออะไร?

อาการปวดหลังส่วนล่าง คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลัง หรือมีอาการหลังแข็งในตำแหน่งชายโครงไปจนถึงบริเวณสะโพก หรือส่วนล่างของแก้มก้น และในบางรายที่อาการหนัก อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย

อาการปวดหลัง สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?

อาการปวดหลังส่วนล่างส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคของหลังซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

ปวดหลังส่วนล่างเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดมักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานมากเกินไป หรือกล้ามเนื้อหลังบาดเจ็บ ซึ่งมักจะพบในกลุ่มที่มีการใช้งานในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย หรือลุกไปไหน ซึ่งทำให้ชปวดหลังส่วนล่างได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย ดังนี้

  • การยกของหนัก สำหรับกลุ่มคนที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง อันเนื่องมาจากน้ำหนักของที่ยกอาจจะมากเกินไป หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด ดังนั้น ควรจะต้องยกของให้ถูกท่า เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการใช้งาน
  • กระดูกสันหลังเสื่อม พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อจะมีการเสื่อมสภาพลงตามอายุ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ แต่ถ้ามีการกดเบียดทับเส้นประสาทในช่องโพรงกระดูกสันหลังร่วมด้วย หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “กระดูกทับเส้น” ก็จะมีอาการปวดหลังล่างร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงขา ชาหรืออ่อนแรงได้
  • โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท มักพบในช่วงวัยทำงาน จะมีอาการปวดหลังล่างร่วมกับปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง ร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วยได้ 
  • อุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง อุบัติเหตุจราจร รวมถึง กลุ่มที่เกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อาจทำให้เกิดปัญหากระดูกหัก หรือมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และทำให้ปวดหลังส่วนล่างได้
  • เนื้องอก สำหรับอาการปวดหลังล่างที่เกิดจากเนื้องอกหรือมะเร็งลามไปที่หลัง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลังที่ผิดปกติ โดยที่จะมีอาการปวดค่อนข้างมาก กินยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น เช่น ปวดจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเคยมีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน
  • ติดเชื้อ เมื่อกระดูกหรือข้อต่อเกิดการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดและมีไข้ แต่สาเหตุนี้พบได้น้อยมากๆ 
  •  

โรคที่พบได้บ่อยเมื่อมีอาการปวดหลังส่วนล่าง

  1. โรคเอ็นกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน (Acute back strain) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งมักจะหายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้มาพบแพทย์ อาการที่พบจะปวดหลังแต่ไม่ร้าวไปที่ขา สาเหตุเพราะกล้ามเนื้อหลังแข็งและเกร็งทำให้แนวแอ่นตัวของหลังหายไป เมื่อกดกล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกสันหลังจะรู้สึกเจ็บ ลักษณะอาการดังกล่าวอาจเกิดร่วมกับอาการของโรคอื่น ๆ ที่มีลักษณะการเกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือกระดูกแตกหักจากอุบัติเหตุ
  2. โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Lumbar disc herniation) พบในผู้ป่วยอายุน้อยไม่เกิน 50 ปี มักเป็นแบบเฉียบพลัน ภายหลังการยกของหนักหรือหมุนตัวผิด ทำให้มีหมอนรองกระดูกแตกออกไปทับเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขา อาจตรวจพบอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาท L4, L5, S1 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบบ่อย
  3. โรคช่องบรรจุไขสันหลังตีบ (Spinal stenosis) อาการปวดหลังและขาในผู้ป่วย จะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งใช้เวลาเป็นปี อาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างและมีการร้าวไปที่ก้น ต้นขาและน่อง มีลักษณะเฉพาะคือ มีอาการปวดหลังร้าวลงขาและมีอาการน่องชาหรือไม่มีแรงเมื่อมีการเดินไกล แต่เมื่อนั่งพักเพียงไม่กี่นาทีอาการก็จะดีขึ้นและสามารถเดินต่อไปได้อีก

อาการที่อาจพบได้เมื่อปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังล่าง ถ้าสาเหตุเกิดจากตัวกล้ามเนื้อหรือข้อต่อกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง และในบางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวมาที่สะโพกร่วมด้วยได้  แต่ถ้าตัวโรคที่เป็นมีการไปกดเบียดทับเส้นประสาทในโพรงกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท นอกจากจะมีอาการปวดหลังล่างแล้ว ก็จะมีอาการปวดร้าวลงขา ชาหรืออ่อนแรงเวลายืนเดินได้ ตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของโรค

ปวดหลังส่วนล่าง รักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง?

เมื่อปวดหลังส่วนล่าง ถ้าอาการนั้นรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค และทำการรักษาต่อไป ซึ่งวิธีการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจะขึ้นอยู่กับตัวโรคที่เป็น โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู 

การป้องกัน

เมื่อปวดหลังส่วนล่าง ถ้าอาการนั้นรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค และทำการรักษาต่อไป ซึ่งวิธีการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจะขึ้นอยู่กับตัวโรคที่เป็น โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู 

การป้องกัน

  • การออกกําลังกายเป็นประจําหรือขยับร่างกายเป็นวิธีป้องกันการกลับมาปวดหลัง ควรออกกำลังกายและเสริมสร้างความแข็งแรงของช่วงลําตัวและสะโพก กล้ามเนื้อหน้าท้องที่แข็งแรงสามารถช่วยพยุงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
  • เรียนรู้ท่าก้มตัวและยกของหนักที่ถูกต้องเหมาะสม เกร็งหน้าท้องและงอเข่าเมื่อต้องยกของหนักเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อหลังยึดตึง
  • หากต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ เมื่อทำได้ เดินหรือขยับร่างกายไปมา

ปวดหลังส่วนล่าง รักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง?

เมื่อปวดหลังส่วนล่าง ถ้าอาการนั้นรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค และทำการรักษาต่อไป ซึ่งวิธีการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจะขึ้นอยู่กับตัวโรคที่เป็น โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู 

การรักษาด้วยยา

การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาท จะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรค และข้อควรระวังในการใช้ยา แต่หากรับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการปวดหลังส่วนล่างยังไม่ดีขึ้น ก็จะต้องเพิ่มการรักษาโดยการกายภาพบำบัด หรือทำการรักษาควบคู่กันไป 

การทำกายภาพบำบัด

เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นสาขาทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวด ฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง แพทย์อาจเพิ่มการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟิ้นฟูแบบต่างๆ ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้

  • การประคบแผ่นร้อน
  • การใช้อัลตราซาวนด์ลดปวด 
  • การใช้เลเซอร์ 
  • การช็อกเวฟ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด
  • การใช้เครื่องเรดคอร์ด (Red Cod) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง ช่วยในการยืดเหยียด และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
  • การใช้เครื่อง Huber 360 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถออกแบบให้เหมาะกับกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาได้ เช่น เพิ่มความแข็งแรงเฉพาะส่วนหลังล่าง หรือจะเลือกโปรแกรมให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทกีฬาได้
  • การใช้ธาราบำบัด เป็นการออกกำลังกาย และฟื้นฟูร่างกายที่ไม่ลงน้ำหนักที่หลังมากเกินไป โดยจะมีโปรแกรมให้คนไข้ออกกำลังกายในน้ำ พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่างๆ 

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล และเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น เช่น  โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เป็นต้น 

บอกลาอาการปวดหลังส่วนล่าง ด้วยการทำกายภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญที่ Pain Clinic Near Me ดีอย่างไร?

หากทำท่าบริหาร หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วอาการไม่ดีขึ้น อย่าปล่อยไว้จนอาการหนัก และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการรุนแรงจนกลายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม หรือร้ายแรงถึงขั้นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แนะนำให้ไปหานักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาที่สาเหตุตั้งแต่เนิ่น ๆ

นักกายภาพบำบัดนั้น จะมีเครื่องมือกายภาพบำบัดมากมายที่ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้อาการปวดหลังส่วนล่างดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ เช่น เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS หรือเครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave เป็นต้น

ถ้าหากคุณมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดหลังช่วงเอว แล้วต้องรักษาให้หายขาดล่ะก็ สามารถนัดหมายเข้ามาทำกายภาพบำบัดที่ Pain Clinic Near Me ได้เลย เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาพร้อมให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เครื่องมือกายภาพบำบัดทันสมัยครบครัน มั่นใจได้เลยว่าอาการปวดเรื้อรังของคุณจะต้องหายดีอย่างแน่นอน!

FAQ

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้อาการปวดเรื้อรังดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะอยู่ที่ 5 – 6 ครั้ง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก

ที่ Pain Clinic Near Me เราใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัยในการรักษาผู้เข้าใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัดเลย

Pain Clinic Near Me เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ดูแลโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้ใช้บริการนำไปเบิกประกันสุขภาพ หรือประกันกลุ่มแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้

Pain Clinic Near Me มีที่จอดรถรองรับหลักร้อยคัน สามารถขับรถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลย

สามารถชำระค่าใช้บริการเป็นเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารได้เลย