อาการปวดคอเป็นภาวะที่พบบ่อย ที่มักเกิดจากท่าทางที่ไม่ดีหรือการใช้งานมากเกินไป ทำให้เกิดเป็นปัญหาในส่วนใดส่วนหนึ่งบริเวณคอ เช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูกสันหลัง ข้อต่อ และแผ่นดิสก์ระหว่างกระดูก อาจทําให้เกิดอาการปวด ทําให้ขยับคอได้ยาก
นอกจากนี้อาการปวดคอก็เป็นส่วนหนึ่งของอาการออฟฟิศซินโดรมด้วย เพราะมาจากการก้มหน้าก้มตาทำงานมากเกินไป และรวมถึงการเล่นอุปกรณ์เทคโนโลยีมากเกินไป หรือที่เรียกว่า “Tech Neck” ที่อาจมีผลทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่ได้
อะไรคือสาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการปวดคอ?
1.อายุที่เพิ่มมากขึ้น
เมื่อมีอายุที่มากขึ้น การเสื่อมของข้อกระดูกต่างๆ จะเสื่อมเองตามธรรมชาติซึ่งอาจจะทําให้ส่วนต่าง ๆ ของกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมสภาพลงได้ และทำให้เกิดอาการปวดได้ เช่น โรคข้อต่อเสื่อม และกระดูกสันหลังตีบ ซึ่งสามารถนําไปสู่อาการปวดคอได้ เมื่อเวลาผ่านไป
2. กล้ามเนื้อหลังส่วนบนอ่อนแรง
ทุกครั้งที่ก้ม งอคอไปข้างหน้า จะทําให้เสียสมดุล เพราะการที่คอเอนไปข้างหน้า เหมือนกับว่าศีรษะจะหนักขึ้นเรื่อยๆ ทําให้กล้ามเนื้อหลังส่วนบน และคอ ต้องทํางานมากกว่าปกติสิ่งนี้สามารถนําไปสู่ความเครียด ความเจ็บปวด และความไม่สมดุล รวมทั้งทําให้เกิดอาการอื่นๆได้ เช่น ปวดหัว
3.โรคข้ออักเสบที่คอ (Arthritis of the neck)
สาเหตุหลักของกระดูกสันหลังส่วนคอเกิดจากกระบวนการแก่ชราตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไป หมอนรองคออาจทำให้ขาดน้ำ และหดตัว ส่งผลให้สูญเสียการกันกระแทกระหว่างกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเสียดสี และการสึกหรอของข้อต่อเพิ่มขึ้น นำไปสู่การเกิดโรคข้ออักเสบที่คอได้
4.ปัญหาเกี่ยวกับดิสก์
กระดูกเล็กๆ ที่ประกอบกันเป็นกระดูกสันหลัง จะมี disk เล็กๆ (ลักษณะเป็นแกนอ่อนนุ่ม) ทําหน้าที่เป็นตัวกั้นระหว่างกระดูก แต่สามารถเริ่มเสื่อมสภาพได้เมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างปัญหาที่พบในดิสก์มีดังต่อไปนี้ เช่น
- หมอนรองกระดูกเคลื่อน จะเกิดขึ้นเมื่อแกนในที่อ่อนนุ่มของหมอนรองกระดูกสันหลังดันผ่านชั้นนอกที่แข็งแรง ซึ่งมักจะทำให้เส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงเกิดการระคายเคือง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด ชา หรืออ่อนแรงในบริเวณที่เป็นเส้นประสาทเหล่านั้นได้
- หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หมายถึงการสึกหรอของหมอนรองกระดูกสันหลังตามอายุ ซึ่งอาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกสูญเสียความหนาลงได้ เพราะหมอนรองกระดูกสันหลังสามารถช่วยลดแรงกระแทก และลดการเสียดสีระหว่างกระดูกสันหลัง ถ้าหมอนรองกระดูกเสื่อมก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือปวดคอเรื้อรังได้
5.Tech neck
“Tech neck” ตามที่เรียกกันนั้นมาจากการที่ก้มมองลงไปที่สมาร์ทโฟนบ่อยครั้ง นั่นเป็นเพราะการก้มศีรษะไปข้างหน้าบ่อยครั้งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความโค้งของคอ ทําให้กล้ามเนื้อตึงได้
6.ความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับงาน
ความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับงานรวมถึงอาการปวดคอ บ่า ไหล่ด้วย มักเกิดจาอาการไม่สบาย หรือความเจ็บปวดที่เกิดจากความเครียดของระบบกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ความเจ็บปวดประเภทนี้มักเกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น การยกของหนัก การนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ หรือการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายมากเกินไปขณะทำงาน เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่พบบ่อยที่สุด
7.ความเครียด สุขภาพจิต และภาวะเรื้อรัง
ความเครียดก็ทำให้เกิดการปวดบริเวณกล้ามเนื้อได้ เช่น โรควิตกกังวล มักจะยกไหล่ขึ้นมาก ซึ่งอาจทําให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรังได้
อาการอื่นๆเพิ่มเติม
- ปวดหัว
- ความแข็งที่คอ ไหล่ และหลังส่วนบน
- ไม่สามารถหันคอ หรือเอียงศีรษะได้
- รู้สึกชาหรือรู้สึกเสียวซ่า ที่ไหล่ หรือแขน
คำเตือนสักนิด!! อย่าลองออกกําลังกายที่คอโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
หากรู้สึกว่าปวดคอ และพยายามที่จะยืดเส้นยืดสาย หรือออกกําลังกายด้วยตัวเอง แต่อาจไม่เป็นประโยชน์ และอาจทําให้อาการแย่ลงได้ เพราะ คอเป็นอะไรที่ซับซ้อนมากทำให้แพทย์ และนักกายภาพบําบัด ต้องตรวจเช็คว่ากล้ามเนื้อส่วนใดที่เกี่ยวข้องจะได้แนะนําการออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางได้ถูกต้อง นอกจากนี้แพทย์ และนักกายภาพบําบัดยังช่วยให้หลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อที่มากเกินไปซึ่งอาจทําให้เกิดอาการปวดมากขึ้น
Pain Clinic Near Me จะช่วยคุณได้อย่างไร?
และหากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญอยู่กับ อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อยู่หรือไม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนัก สามารถนัดหมาย หรือเข้ามาปรึกษาแพทย์ ได้ที่ https://painclinicnear.me ได้เลย
Painclinicnear.me เรามีทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดปริญญาให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง ShockWave หรือ เครื่อง PMS มีการตรวจประเมินร่างกายและวางแผนรักษาเฉพาะบุคคลก่อนทุกครั้ง มั่นใจได้เลยว่า จะช่วยให้อาการปวดของคุณดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำอย่างแน่นอน
- (+66) 88 448 6718
- (+66) 93 692 5999
- info@siamclinicphuket.com
- Big C Supercenter 1st floor (opposit to KFC), Amphoe Muang Phuket, Phuket, Thailand 83000
ขอบคุณข้อมูลจาก : Dtap clinic, Mynmc healt